Posted on: July 31, 2018 / Last updated: June 12, 2024
ความแตกต่างระหว่าง การชำระค่าธรรมเนียมขนส่งสินค้าที่ต้นทาง(Freight Prepaid) และ การชำระค่าธรรมเนียมขนส่งสินค้าที่ปลายทาง (Freight Collect) ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับความเสี่ยง ในการชำระค่าบริการ ด้วยความรู้ด้านการขนส่งที่ถูกต้อง
เราต้องการที่จะอธิบายถึงความแตกต่าง ระหว่าง ”Freight Prepaid” และ “Freight Collect” โดยจะคุณจะเข้าใจถึงความแตกต่างได้ง่ายขึ้นโดย การแปลความหมายของแต่ละคำเป็นภาษาอังกฤษ
Freight : Fare to transport the goods (ค่าระวางสินค้า)
Prepaid: Pay in advance (จ่ายเงินล่วงหน้า)
Collect : To take something such as money and tax (การเรียกเก็บบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เงิน และ ภาษี)[br num=”2″]
ดังนั้น (Freight prepaid) คือ ผู้ส่ง (Shipper) จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าและในทางกลับกัน
(Freight collect) คือ ผู้รับสินค้าปลายทาง (Importer/ Consignee) จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าโดยจ่ายที่ปลายทาง
CONTENTS
วิดีโอเกี่ยวกับ Freight prepaid และ Freight Collect
ใครจะเป็นคนจ่ายค่าบริการขนส่งสินค้า?
Freight Prepaid: ผู้ส่งสินค้า เป็นผู้จ่ายค่าบริการ
Freight Collect: ลูกค้าปลายทางเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า
ค่าบริการขนส่งสินค้าคืออะไรบ้าง?
ค่าบริการขนส่งสินค้าในที่นี้ คือ ค่าบริการการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งขนส่งทางเรือและขนส่งทางเครื่องบิน โดยเริ่มตั้งแต่ B/L (Bill of landing) สำหรับการขนส่งทางเรือ หรือ AWB (Air Waybill) สำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศ, ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งทางรถบรรทุก ทั้งทางด้านผู้ส่งออก และผู้นำเข้า, ค่าใช้จ่ายของท่าเรือ ซึ่งยังไม่รวมค่าธรรมเนียมภาษีศุลกากร
ข้อกำหนดในการขนส่งสินค้า(Term,Incoterm)ที่เกี่ยวของกับ Freight prepaid และ Freight Collect
Freight Prepaid: C&F, CIF, CFR, DDU, DDP
Freight Collect : EXW, FOB
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ Incoterm คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก link ด้านล่าง โดยจะมีคำอธิบายพร้อมภาพประกอบ ซึ่งเป็นความรู้ที่จำเป็นสำหรับงานด้าน Logistic
Prepaid หรือ Collect ขึ้นอยู่กับผู้ส่งออกหรือผู้รับสินค้า
ไม่ว่าจะเป็น Freight Prepaid หรือ Freight collect การชำระค่าขนส่งสินค้า จะขึ้นอยู่กับข้อตกลงของ Incoterms ระหว่าง ผู้ส่งออก (Shipper) และ ผู้นำเข้า (Cnee)
หากผู้นำเข้าสินค้า (Importer) ต้องการที่จะควบคุมการขนส่งด้วยตัวเอง ควรใช้เป็น Term(Incoterm) EXW หรือ FOB แต่ในทางกลับกัน หากผู้นำเข้าสินค้า (Importer) ต้องการให้ความรับผิดชอบด้านการขนส่งเป็นของผู้ส่งออกสินค้า (Exporter) ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เป็น Term(Incoterm) CIF,DDU,DDP
Freight Collect เป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้ส่งออก
กรณีตัวอย่างของเราที่เคยเกิดขึ้น มีขอโต้แย้งเกิดขึ้นสำหรับการติดต่อซื้อขายระหว่าง Freight prepaid และ Freight Collect โดยเป็นการส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศซึ่งข้อตกลงได้รับการยืนยันให้จัดส่งสินค้าโดย Term CIF และ ผู้ส่งออกที่ประเทศไทย ควรจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
อย่างไรก็ตาม ก่อนการจองการจัดส่งสินค้าในครั้งแรก การชำระเงินถูกเปลี่ยนจาก Prepaid เป็น Collect โดยการปรึกษาหารือกันระหว่างผู้ส่งออกสินค้าที่ไทยและผู้รับสินค้าที่ต่างประเทศ ส่งผลให้ Term การจัดส่งสินค้าถูกเปลี่ยนจาก CIF เป็น EXW [br num=”2″]
และโดยปกติแล้วเราจะเสนอราคาค่าขนส่งสินค้าทางทะเลจากสายเรือในประเทศไทย โดยที่เราจะจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กับทางสายเรือก่อน
B/L และ การชำระเงิน จะเป็นไปตามรายละเอียดด้านล่าง
Master B/L: Freight Prepaid
House B/L : Freight Collect
การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากต่างประเทศ
เนื่องจากการขนส่งสินค้า ถูกเปลี่ยนเป็น Freight Collect เราจึงต้องเรียกเก็บค่าใช้จ่าย จากผู้รับสินค้าที่อยู่ต่างประเทศ
ตัวแทนของเราได้ติดต่อกับผู้รับสินค้าปลายทางเพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่าย หลังจากนั้นตัวแทนของเราจึงจะส่งเงินกลับมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมทุกอย่างจากประเทศไทย
นอกจากนี้แล้ว ค่ารถขนส่งภายในประเทศ,ค่าภาษีศุลกากร,และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นที่ท่าเรือประเทศไทย โดยปกติแล้วจะถูกคิดเป็นสกุลเงินบาท(THB) แต่ค่าใช้จ่ายที่ต่างประเทศจะเรียกเก็บจากผู้รับสินค้าเป็นสกุลเงิน ดอลล่าร์(USD) ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยที่เราต้องเจรจาอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับการโอนเงินในทุกๆครั้ง [br num=”2″]
ในขณะที่เราสงสัยว่าบริษัทต่างประเทศจะจ่ายค่าใช้จ่ายตรงเวลาหรือไม่ แต่อย่างที่รู้ๆกันแผนกบัญชีของบริษัทต่างประเทศ มักจะพยายามที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายล่าช้าหรือเลื่อนนัดชำระจนเกือบเป็นวัฒนธรรมของพวกเขาไปแล้ว แต่ถ้าจะยกตัวอย่างการใช้บริการ Freight Collect กับบริษัทญี่ปุ่นก็จะไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่มากนักสำหรับเรื่องที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบสำหรับการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ในกรณี Freight Collect.
การสร้างความสมดุลการค้าระหว่างประเทศ
จากตัวอย่างที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ อาจจะดูสับสนเนื่องจากการค้าขายด้านการขนส่งสินค้า โดยส่วนใหญ่ผู้ส่งออกในประเทศไทยจะเป็นคนตัดสินใจ หากข้อตกลงดังกล่าวได้ถูกตัดสินใจระหว่างผู้รับสินค้า(Cnee) และตัวแทนของเราที่ต่างประเทศปัญหานี้อาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่
การติดต่อระหว่างประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมีความแตกต่างด้านภาษาวัฒนธรรมและสกุลเงินรวมถึงการดำเนินธุรกิจของแต่ละประเทศ เราจึงคิดว่าการสร้างความสมดุลทางการค้าระหว่างประเทศ ถือเป็นอีกงานหนึ่งที่สำคัญของ Freight Forwarder.
บทสรุป
สำหรับผู้ส่งออก (shipper) และ ผู้นำเข้า (Cnee) การชำระค่าธรรมเนียมขนส่งสินค้าที่ต้นทาง(Freight Prepaid) และการชำระค่าธรรมเนียมขนส่งสินค้าที่ปลายทาง (Freight Collect) เป็นเพียงเงื่อนไขการซื้อขาย ซึ่งอาจจะดูเป็นเรื่องที่ง่าย แต่อย่างไรก็ตามมันก็ยังคงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ที่จ่ายเงินอยู่ดี
เพื่อให้ข้อตกลงระหว่างประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น เราจึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาพื้นฐานวัฒนธรรมทางธุรกิจของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ Freight Forwarder ควรที่จะร่วมมือกับตัวแทนปลายทางอย่างดีที่สุด เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจของลูกค้าเป็นไปอย่างสะดวก และ ราบรื่น