HPS Trade, a distribution agent
that accelerates business locally in Asia

MENUCLOSE

column

FCL และ LCL มีประโยชน์แตกต่างกันอย่างไร? บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการคำนวณจุดคุ้มทุน ของการส่งสินค้าแบบ LCL จากประเทศไทย

FCL และ LCL มีประโยชน์แตกต่างกันอย่างไร? บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการคำนวณจุดคุ้มทุน ของการส่งสินค้าแบบ LCL จากประเทศไทย | การขนส่งทางทะเล

สำหรับการจัดส่งสินค้าทางทะเล นั้น มีด้วยกัน 2 ประเภท นั่นคือ FCL และ LCL
FCL (Full Container load) คือ การโหลดสินค้าแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ โดยมีผู้ส่งออกเพียงเจ้าเดียว
LCL (Less than Container Load) คือ การโหลดสินค้าโดยที่ผู้ส่งออกหลายเจ้าเปิดตู้คอนเทนเนอร์ร่วมกัน

ซึ่งเราควรทำความเข้าใจระหว่าง FCL และ LCL ว่ามีประโยชน์ แตกต่างกันอย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาอาจขึ้นตามมาจากเข้าใจผิด

CONTENTS

วิดีโอเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการส่งสินค้าทางทะเลแบบ FCL และ LCL

ความแตกต่างระหว่างการส่งสินค้าทางทะเลแบบ FCL และ LCL

การส่งออกสินค้าแบบ FCL

ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ขนาดด้านใน (Inside Dimension) และ น้ำหนักของสินค้าที่มากที่สุดที่ตู้ แต่ละประเภทจะรับได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการโหลดสินค้า

ขนาดของ Container (ขนาดด้านใน,inside dimension

20ft container: 2.3m (กว้าง) x 5.7m (ยาว) x 2.4m (สูง)
40ft container: 2.3m (กว้าง) x 12m (ยาว) x 2.4m (สูง)
40ft HC (high cube): 2.3m (กว้าง) x 12m (ยาว) x 2.7m (สูง) [br num = “2”]

หมายเหตุ : ขนาดภายในตู้คอนเทนเนอร์อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยซึ่งขึ้นอยู่กับสายเรือ

น้ำหนักที่รับได้มากที่สุดสำหรับตู้คอนเทนเนอร์

20ft, 40ft, 40ft HC: ประมาณ 25 tons [br num = “2”]

สำหรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุด ของตู้คอนเทนเนอร์ , 20ft,40ft และ 40HC. จะสามารถรับน้ำหนักได้เท่ากันที่ 25 ตัน . โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าตู้ 40ft จะสามารถโหลดสินค้าหนักได้ถึง 50 ตัน [br num = “2”]

เนื่องจากเป็นเรื่องที่อันตรายแก่รถหัวลากและเรืออย่างมาก ในการขนส่งสินค้าที่หนักเกินพิกัด อีกทั้งยังมีการควบคุมน้ำหนักของตู้คอนเทนเนอร์ด้วย

หมายเหตุ : น้ำหนักสูงสุดที่ตู้คอนเทนเนอร์รับได้ อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสายเรือด้วย

ดังนั้น หากปริมาณ ขนาด และ น้ำหนักของสินค้า เหมาะสมกับตู้คอนเทนเนอร์ 20’, 40’ และ 40’HC เราแนะนำให้ส่งออกแบบ FCL

การส่งออกสินค้าแบบ LCL

ในทางกลับกัน, เมื่อสินค้ามีไม่เพียงพอสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ 20’ft เราจะเลือกใช้การส่งออกสินค้าแบบ LCL ในกรณีนี้ 1RT (Revenue Ton) คือ ปริมาณสินค้าที่ต่ำที่สุด ดั้งนั้น ถึงแม้ว่าสินค้าจะมีปริมาณไม่ถึง 1RT สินค้านั้นก็จะถูกคิดเริ่มต้นที่ 1RT

RT (Revenue Ton) หมายถึง 1 CBM ซึ่งเท่ากับ 1 ตัน โดยจะเป็นหน่วยที่สูงที่สุดสำหรับการขนส่งสินค้า

revenue ton

ค่าใช้จ่ายภายในประเทศ(Local charge) ของ FCL และ LCL นั้นแตกต่างกันอย่างไร

ไม่ว่าจะเป็น FCL หรือ LCL ค่าบริการต่างๆที่ท่าเรือเป็นสิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากการคำนวณ FCL และ LCL นั้นมีความแตกต่างกัน

ค่าบริการท่าเรือ สำหรับ FCL

THC (Terminal Handling Charge) คือ ค่าใช้จ่ายในการย้ายตู้คอนเทนเนอร์ในเทอมินอลของท่าเรือ โดยข้อมูลด้านล่าง จะแสดงค่าใช้จ่าย THC ทั้งด้านการส่งออก และ นำเข้า(ประเทศญี่ปุ่น) [br num = “2”]

【THC สำหรับการส่งออกในประเทศไทย】
· THC – 20 ft: THB 2,600/20′
· THC – 40 ft: THB 4,200/40′

【THC สำหรับการนำเข้าในประเทศญี่ปุ่น】
· THC – 20 ft: JPY 35,000/20′
· THC – 40 ft: THB 49,000/40′

อย่างไรก็ตามค่าบริการ THC นั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละสายเรือ ซึ่งสามารถเข้าไปตรวจสอบค่าบริการและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เวปไซต์ของสายเรือนั้นๆ

ค่าบริการท่าเรือสำหรับ LCL

ค่าบริการท่าเรือ สำหรับ LCL นั้น จะมีค่า THC เช่นเดียวกันกับ FCL และ ค่าบริการ CFS (Container Freight Station) ซึ่งเป็นค่าบริการสำหรับบรรจุสินค้าใส่ตู้คอนเทนเนอร์บริเวณจุดโหลดสินค้า ※สำหรับ FCL จะไม่มีค่าบริการ CFS

สำหรับ LCL ค่าบริการ THC และ CFS นั้นจะไม่มีการกำหนดค่าบริการตายตัวแต่ ค่าบริการนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่ถูกคิดเป็น RT แล้ว. [br num = “2”]

ดังตัวอย่างด้านล่าง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่าย THC และ CFS ที่ท่าเรือญี่ปุ่น

· THC – JPY 1,500/RT
· CFS – JPY 3,980/RT [br num = “2”]

หากคุณส่งสินค้า แบบ LCL ที่ 5CBM (2 ton) ท่าเรือจะคิดค่าบริการตามรายละเอียดด้านล่าง

· THC – JPY 1,500 x 5 = JPY 7,500
· CFS – JPY 3,980 x 5 = JPY 19,900

ความคุ้มค่าของ FCL และ LCL

FCL หรือ LCL แบบไหนได้ประโยชน์มากกว่ากัน? ตามความเป็นจริง เราไม่สามารถกำหนดค่าใช้จ่ายของ FCL และ LCL ได้เนื่องจากการเสนอราคานั้นเกี่ยวข้องกับ Forwarders

อย่างไรก็ตาม เราจะอธิบายเกี่ยวกับวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายตามรายละเอียดด้านล่าง

อย่ามองแค่ค่า Ocean Freight

เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เมื่อคุณจะคำนวณค่าใช้จ่ายของ FCL และ LCL คุณไม่ควรที่จะดูแค่ค่า Ocean Freight โดยลองพิจารณาตามตัวอย่างด้านล่าง

ข้อกำหนด : ขนาดสินค้า,น้ำหนักสินค้า,ปริมาณสินค้า

ปริมาณสินค้า : 1.1m x 1.1m x 1.0m / palette * 1.21CBM / pallet
จำนวนสินค้า : 10 pallets
น้ำหนักสินค้า : 500kg / pallet

ปริมาณสินค้าทั้งหมด : 12.1CBM
น้ำหนักสินค้าทั้งหมด : 5 ton

ข้อกำหนด : การขนส่งสินค้าทางทะเลไปประเทศญี่ปุ่น

FCL: USD 300/20′ all in
LCL: USD 10/CBM

ข้อกำหนด : ค่าบริการท่าเรือที่ประเทศญี่ปุ่น

FCL: THC – JPY 35,000/20 ‘

LCL:
THC – JPY 1,500/RT
CFS – JPY 3,980/RT

คำตอบ

ค่าบริการของ FCL

· Ocean Freight: USD 300
THC: JPY 35,000

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา : USD 1 = JPY 100
· เท่ากับ: JPY 30,000 + JPY 35,000 = JPY 65,000

ค่าบริการของ LCL

· Ocean Freight: USD 10 x 12.1 CBM = USD 121
· ค่าบริการท่าเรือ
 THC: JPY 1,500 x 12.1 CBM = JPY 18,150
 CFS: JPY 3, 980 x 12.1 CBM = JPY 48,158 [br num = “2”]

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา : USD 1 = JPY 100
· เท่ากับ: JPY 12,100 + JPY 18,150 + JPY 48,158 = JPY 78,408 [br num = “2”]

หากมองเรื่องค่า Ocean freight แล้ว LCL อาจจะดูคุ้มค่า แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมค่า Ocean freight และ ค่าบริการท่าเรือ(port charges)แล้ว จะเห็นได้ว่า FCL มีความคุ้มค่ามากกว่า [br num=”2″]

Ocean Freight: USD 300(FCL) v.s USD 121(LCL)
ค่าบริการรวมทั้งหมด : JPY 65,000(FCL) v.s JPY 78,408(LCL)

Pay attention to Incoterms

Incoterms คือ เงื่อนไขค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า เช่น EXW, C&F, CIF, FOB, DDU, DDP

คุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Link ด้านล่าง
Explained Incoterms with illustration. Necessary knowledge for Logistics job

ให้ความสำคัญ สำหรับ CIF

CIF

สำหรับ CIF Term ผู้ส่งออกสินค้าจะเป็นผู้ชำระค่าขนส่งภายในประเทศ และ Ocean Freight เมื่อมีการส่งออกสินค้าแบบ LCL โดย CIF Term คุณจะต้องให้ความสำคัญกับค่าธรรมเนียมที่ท่าเรือปลายทาง(Import side)ด้วย .

หากผู้ส่งออกไม่เข้าใจถึงจุดคุ้มทุนของ FCL และ LCL ผู้ส่งออกจะเลือกการขนส่งสินค้าแบบ LCL เนื่องจากมีค่า Ocean Freight ที่ถูกกว่า และหลังจากนั้นพวกเขาก็จะไม่ได้สนใจเกี่ยวกับค่าบริการที่สูง ทางด้านท่าเรือปลายทาง(Import side)

ตัวอย่างข้อร้องเรียนของการส่งออกแบบ LCL

ผู้ส่งออกเจ้าหนึ่งมักจะส่งสินค้าจำนวน 20 pallets ไปยังประเทศญี่ปุ่นโดยตู้คอนเทนเนอร์ 20ft วันหนึ่ง พวกเขาได้ตัดสินใจที่จะจัดส่งสินค้า แบบ LCL เนื่องจากสินค้าลดลงเหลือ 14 Pallets

โดยปริมาณของสินค้าอยู่ที่ประมาณ 1CBM/1Pallet ซึ่งปริมาณทั้งหมดจะเท่ากับ 14 CBM แน่นอนว่า ค่าใช้จ่ายทางด้านประเทศญี่ปุ่น (THC และ CFS) จะสูงกว่าค่า THC ของการจัดส่งสินค้าแบบ FCL [br num = “2”]

FCL port charge – THC: JPY 35,000/20′
LCL port charge – (THC: JPY 1,500 x 14) + (CFS: JPY 3,980 x 14) = JPY 76,720 [br num = “2”]

สำหรับ Incoterms ในการส่งสินค้าครั้งนี้คือ CIF ดังนั้นลูกค้าที่ญี่ปุ่นต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าบริการท่าเรือ ซึ่งลูกค้าไม่พอใจอย่างมากกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากค่าบริการท่าเรือเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเนื่องจากเป็นการจัดส่งสินค้าแบบ LCL .

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหนึ่งความผิดพลาดของ forwarder ที่จัดส่งสินค้าแบบ LCL ซึ่งพวกเขาต้องตรวจสอบกับลูกค้าอย่างละเอียดเมื่อได้รับข้อมูลจากลูกค้าว่าจะจัดส่งสินค้าจำนวน 14 Pallets แบบ LCL

บทสรุป

จุดคุ้มทุนของ FCL และ LCL นั้นขึ้นอยู่กับการเสนอราคาจาก forwarder แต่เราประมาณการให้อย่างคร่าวๆ ว่าหากคุณต้องการจะส่งสินค้าที่จำนวน 1-5 pallets เราขอแนะนำการจัดส่งแบบ LCL ※ อย่างไรก็ตาม โปรดให้ความสำคัญกับความสูงของสินค้าด้วย

และเมื่อปริมาณของสินค้ามีจำนวนมากถึง 10 pallets เราขอแนะนำการจัดส่งแบบ FCL โดยตู้คอนเทนเนอร์ 20ft. [br num = “2”]

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือความเป็นมืออาชีพของ Freight Forwarder ซ่งเรามีหน้าที่ ที่จะต้องให้คำแนะนำที่เหมาะสมที่สุดแก่ลูกค้า ในทุกๆครั้งที่การส่งสินค้ามีการเปลี่ยนแปลง เช่น FCL,LCL และ Incoterm เป็นต้น

RELATED POSTS

บทความเกี่ยวกับการประกันภัยทางทะเล และ เงื่อนไขการประกัน! เพื่อป้องกันความเสี่ยง ต่อความเสียหายของสินค้า ในระหว่างการขนส่ง เราจำเป็นต้องทราบประเภทของการประกันภัยทางทะเล | การขนส่งทางทะเล

บทความเกี่ยวกับการประกันภัยทางทะเล และ เงื่อนไขการประกัน! เพื่อป้องกันความเสี่ยง ต่อความเสียหายของสินค้า ในระหว่างการขนส่ง เราจำเป็นต้องทราบประเภทของการประกันภัยทางทะเล