Posted on: August 23, 2018 / Last updated: June 12, 2024
เยี่ยมชม ท่าเรือแหลมฉบัง และ ICD ลาดกระบัง
เราได้มีส่วนร่วมเยี่ยมชมท่าเรือแหลมฉบัง และICDลาดกระบังซึ่งสนับสนุนโดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าที่เราได้รับข่าวสารโดยตรงจากทางผู้ประกอบการท่าเรือแหลมฉบังและICDลาดกระบัง
CONTENTS
ท่าเรือแหลมฉบัง
Mr. Sorop, ผู้บริหารด้านวิศวะกรรมของท่าเรือแหลมฉบัง
ประวัติความเป็นมาของท่าเรือแหลมฉบัง
ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือหลักที่เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1987 โดยก่อตั้งที่ชลบุรี และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีขนาดพื้นที่ 6,340 ไร่ อยู่ห่างจากท่าเรือกรุงเทพประมาณ 100 กิโลเมตร และ ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิ 95 กิโลเมตร สินค้าถูกลำเลียงผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ทางถนน ทางรางรถไฟ ทางเรือ และอีกหลายเส้นทางที่ใช้ในการลำเลียงสินค้า
ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่ใช้ระบบการบริหารจัดการระดับสากลที่ได้มาตรฐานและมีการกระจายขนส่งสินค้ามากกว่า 10,800,000 ทีอียูต่อปี และรถขนส่งสินค้ามากกว่า 2 ล้านคันที่ใช้บริการท่าเรือแหลมฉบังในการส่งออกและนำเข้าสินค้า [br num=”2″]
ได้มีการติดตั้งระบบตรวจสอบตู้คอนเทรนเนอร์ด้วยเครื่อง x-ray ซึ่งสินค้าในตู้คอนเทรนเนอร์ทุกตู้ จะถูกตรวจสอบด้วยระบบ X-ray นี้ ทางเจ้าหน้าที่ได้โชว์ภาพประกอบการอธิบายถึงขั้นตอนการตรวจสอบสินค้าภายในตู้คอนเทรนเนอร์ นอกจากนี้ยังมีการผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นทีของแหลมฉบังอีกด้วย
ท่าเทียบเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง
ท่าเทียบเรือที่ท่าเรือแหลมฉบังให้บริการ 3 เฟสด้วยกัน เฟสแรกเปิดให้บริการเรียบร้อยตั้งแต่ปี 1991 เฟสที่สอง เปิดให้บริการแต่ยังไม่เต็มรูปแบบซึ่งมีบางส่วนที่ยังอยู่ในการก่อสร้างและพัฒนา ส่วนในเฟสสาม กำลังอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกผู้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่จะติดตั้ง
Phase 1: เสร็จเรียบร้อย
A0
A1-5
B1-5
Altitude – 14 m
Phase 2: เปิดให้บริการบางส่วนและอยู่ระหว่างดำเนินงาน
C 0
C1-3
D1-3
Altitude – 16 m
Phase 3: อยู่ในขั้นตอนวางแผนและคัดเลือกผู้ดำเนินงาน
E0
E1-2
F1-2
Altitude – 18.5 m
ทางรางรถไฟสู่ท่าเรือแหลมฉบัง
ที่ท่าเรือแหลมฉบัง มีการขนส่งสินค้าทางรางรถไฟไปยัง ICD ลาดกระบัง แต่ดูเหมือนว่าการขนส่งสินค้าทางรางรถไฟจาก ICD ลาดกระบังไปยังท่าเรือแหลมฉบังยังใช้งานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงทำให้เกิดการจราจรที่คับคั่งในพื้นที่ลาดกระบัง จึงต้องมีการวางแผนขยายพื้นที่ทางรางรถไฟมากขึ้น
ตัวโครงการ 1 และ 2 , พื้นที่สีเขียวภายในท่าเรือ ทางรางรถไฟ จุด X-ray สามารถมองเห็นได้จากมุมสูงของตัวอาคารแหลมฉบัง
เกี่ยวกับ ท่าเรือฮัทชิสัน ประเทศไทย
บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เป็นผู้ประกอบการสถานีขนส่งสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง ก่อตั้งเมื่อปี 2006 และดำเนินงานอยู่ที่ท่าเรือ A2 ,A3 ,C1 , C2, D1, D2 & D3 ที่ท่าเทียบเรือแหลมฉบัง
ที่ท่าเรือฮัทชิสัน ได้นำเทคโนโลยีล่าสุดเข้ามาช่วยในการทำงานของเครน ซึ่งเราพบว่าเป็นการทำงานที่โดดเด่นด้วยการใช้เทคโนโลยีควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล โดยที่คนงานไม่ต้องอยู่ข้างบนเครน เพื่อคอยควบคุมการทำงาน จึงไม่ต้องเสี่ยงทำงานในที่ที่มีเสียงดังและอึดอัด ช่วยลดความตึงเครียดของการทำงานอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสะดวกสบายเมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานแบบเดิม
เรายังได้ไปเยี่ยมชมท่าเรือ D ถ้าพิจารณาจากรูปภาพด้านล่างนี้ อาจเข้าใจได้ค่อนข้างยาก แต่ตัวเครนกำลังทำงานด้วยระบบควบคุมการปฎิบัติงานจากระยะไกล ซึ่งสถานีนี้ยังคงอยู่ภายใต้การพัฒนาโครงการแต่จะเห็นได้ว่าตัวสถานีมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเงียบสงบไม่มีเสียงรบกวน
ICD ลาดกระบัง
ล่าสุดนี้เราได้ไปเยี่ยมชมบริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (ESCO) ตั้งอยู่ที่ ICD ลาดกระบัง
ICD ลาดกระบังก่อตั้งเมื่อปี 1996 อยู่ห่างจากท่าเรือแหลมฉบัง 100 กิโลเมตร และห่างจากท่าเรือกรุงเทพ 20 กิโลเมตร ในช่วงเวลานั้นท่าเรือกรุงเทพถูกใช้ในการกระจายขนส่งสินค้ามากที่สุด และ ICD ลาดกระบังถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานของท่าเรือแหลมฉบัง แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนมารองรับการทำงานของท่าเรือกรุงเทพแทน
การจัดการยอดนำเข้าและส่งออกของแต่ละท่าในปี2017
ลาดกระบัง(LKB) 1.4 ล้าน ทีอียู / ปี
กรุงเทพ(BKK) 1.5 ล้าน ทีอียู / ปี
แหลมฉบัง(LCB) 7.8 ล้าน ทีอียู / ปี
ผู้ประกอบการที่ICDลาดกระบัง
ปัจจุบันนี้ ICD ลาดกระบัง ดำเนินงานโดยผู้ประกอบการจำนวน 6 รายด้วยกัน
หากพูดถึง ICD ลาดกระบัง ทางรถไฟมุ่งหน้าสู่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อรองรับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงที่ว่าการขนส่งระหว่าง ICD ลาดกระบังและท่าเรือแหลมฉบัง ผู้ประกอบการไม่ได้ใช้เฉพาะช่องทางขนส่งทางรางรถไฟเท่านั้น แต่ยังใช้ช่องทางการขนส่งทางรถพ่วงอีกด้วย
อัตราส่วนการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือลาดกระบังและท่าเรือแหลมฉบัง
· ทางรถพ่วง : 80 %
· ทางรางรถไฟ : 20%
ในอดีตอัตราส่วนการขนส่งอยู่ที่ รถพ่วง 60% และรางรถไฟ 40% อย่างไรก็ตามอัตราการใช้รางรถไฟก็ยังคงลดลงทุกปี สืบเนื่องจากทางรางรถไฟไม่เพียงพอจึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องเส้นทางรางรถไฟในแหลมฉบังขึ้นผลที่ตามมาคือเกิดปัญหาการจราจรที่คับคั่ง
ตัวเลขปัจจุบันการใช้รางรถไฟอยู่ที่ : 10 เซอร์วิส / วัน , 68 ทีอียู / เที่ยว
ช่วงเวลาถามคำถาม
ใครเป็นคนตัดสินใจว่าจะใช้ทางรางรถไฟ หรือรถพ่วง?
บริษัทขนส่งเป็นผู้ตัดสินใจ [br num=”2″]
อะไรคือข้อแตกต่างของระยะเวลาในการขนส่งทางรถไฟและทางรถพ่วง?
รถไฟ : ถ้าเราส่งสินค้าเร็ว จะอยู่ที่ 4 ชั่วโมง * แต่ถ้าคุณช้า ต้องใช้ระยะเวลา 20 ชั่วโมง
รถพ่วง : 3 , 4 ชั่วโมง * มากสุดคือ 6 ชั่วโมง [br num=”2″]
มีกรณีที่ไม่สามารถส่งสินค้าขึ้นเรือได้เนื่องจากความล่าช้าของทางรถไฟบ้างไหม?
ไม่ได้เป็นการจัดการของทาง อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (ESCO) แต่อย่างใด ทั้งนี้ถ้าสินค้าทางรถไฟยังมาไม่ถึง เราก็จัดการส่งสินค้าทางรถบรรทุก โดยให้คนขับรถไปส่งสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบังแทน [br num=”2″]
แผนการก่อสร้าง ICD ฉะเชิงเทรา
ICD แห่งใหม่จะเกิดขึ้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และมีโครงการที่จะเชื่อมต่อรางรถไฟไปยังรางรถไฟเดิมที่ใช้ในปัจจุบันด้วย ทั้งนี้ในส่วนของแผนงานการก่อสร้างยังไม่มีรายละเอียดออกมามากนัก แต่อย่างไรเราก็หวังว่าโครงการใหม่นี้จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการขนส่งของตู้คอนเทรนเนอร์และปัญหาการจราจรที่คับคั่งด้วย
สรุปผลการเยี่ยมชมโครงการ
การเยี่ยมชมโครงการในครั้งนี้เราได้เรียนรู้อะไรมากมาย ยิ่งไปกว่านั้นเรายังได้เห็นถึงการพัฒนาที่มากขึ้นด้วยการนำเอาเทคโนโลยีล่าสุดเข้ามาช่วยในการทำงาน
เช่น การปฎิบัติงานจากระยะไกลผ่านระบบรีโมตคอนโทรล การลงทุนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือและอุปกรณ์ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ของบริษัทอีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล
สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและทุ่มเทของบริษัทที่มีต่อประเทศไทยและท่าเรือแหลมฉบังที่จะผลักดันให้เป็นศูนย์กลางของอาเซียนในอนาคต