HPS Trade, a distribution agent
that accelerates business locally in Asia

MENUCLOSE

column

เมื่อสินค้าเสียหายในระหว่างการขนส่งระหว่างประเทศ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ? และ ความสำคัญของการบรรจุสินค้า (Packing/Lashing)

เมื่อสินค้าเสียหายในระหว่างการขนส่งระหว่างประเทศ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ? และ ความสำคัญของการบรรจุสินค้า (Packing/Lashing) | การขนส่งทางทะเล

สำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศการบรรจุสินค้า (packing) เป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อสินค้านั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา บทความนี้เราจะแนะนำแนวทางการจัดการเมื่อสินค้าได้รับความเสียหาย โดยก่อนอื่นเราขออธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าในระหว่างการขนส่งก่อน

CONTENTS

สินค้าเกิดความเสียหายที่ไหนได้บ้าง ?

インコタームズ

・ระหว่างการโหลดสินค้าขึ้นรถบรรทุกหรือตู้คอนเทนเนอร์บริเวณโรงงาน

สินค้าที่ถูกโหลดขึ้นรถบรรทุกหรือบรรจุใส่ตู้คอนเทนเนอร์ ไม่ว่าจะด้วย แรงงานคน รถโฟล์คลิฟท์ รถเครน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ ก็มักจะเกิดจากความผิดพลาดจากการประสานงานของผู้โหลดสินค้า

ตัวอย่างเช่น การทำสินค้าหล่นในระหว่างการโหลด, การประสานงานที่ผิดพลาดของรถโฟล์คลิฟท์ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้สินค้าเกิดความเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งการใช้รถเครนในการโหลดสินค้าที่มีน้ำหนักมากซึ่งหากเกิดการประสานงานที่ผิดพลาดแล้วก็อาจจะนำมาซึ่งความเสียหายที่มากกว่าทรัพย์สินอีกด้วย

・ระหว่างการขนส่งสินค้าจากโรงงาน ไปยัง CFS (Container Freight Station) และท่าเรือ (Terminals)


สินค้าที่อยู่บนรถบรรทุกอาจจะได้รับความเสียหายจากการสั่นสะเทือน
เนื่องจากสภาพพื้นผิวถนนที่ชำรุดหรือในระหว่างการขนส่งนั้นเกิดอุบัติเหตุ

・ระหว่างการโหลดสินค้าที่ CFS (Container Freight Station)

ในกรณีการส่งสินค้าแบบ LCL หรือสินค้าที่ไม่สามารถโหลดที่โรงงานได้ สินค้าจะต้องถูกส่งมาโหลดบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ที่ CFS

กรณีการโหลดสินค้า LCL วิธีการโหลดสินค้าอาจจะแตกต่างกันในแต่ละครั้งเนื่องจากสินค้าถูกส่งมาจากหลายๆโรงงานและโหลดใส่ตู้คอนเทนเนอร์ที่บริเวณจุดโหลด ซึ่งหากเกิดความผิดพลาดในระหว่างการโหลด หรือ เกิดความเข้าใจผิดในการประสานงานกับโฟล์คลิฟท์ ก็อาจจะเป็นสาเหตุให้สินค้าเกิดความเสียหายได้

ถึงแม้ว่าเราจะสามารถแจ้งผู้โหลดงานได้ว่า ไม่ขอให้มีสินค้าอื่นมาวางทับบนสินค้าของเรา แต่ก็ยังมีโอกาสที่สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากการประสานงานที่ผิดพลาดบริเวณจุดโหลดสินค้า

・ระหว่างการโหลดสินค้าโดยเครนที่ท่าเรือ

หลังจากที่โหลดสินค้าใส่ตู้คอนเทนเนอร์ ตู้จะถูกโหลดลงเรือโดยเครนที่ท่าเรือ ขั้นตอนนี้จะเป็นการดำเนินงานโดยพนักงานที่ท่าเรือ ซึ่งปกติแล้วตู้สินค้าจะถูกวางซ้อนกันบนเรือ และบางครั้งตู้อาจจะถูกเคลื่อนย้ายหลายครั้ง จนส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าภายในตู้ได้

・ระหว่างการขนส่งทางทะเล

สาเหตุการเสียหายของสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ อาจเกิดจากการสั่นสะเทือนจากคลื่นและลมทะเลในระหว่างที่ตู้คอนเทนเนอร์อยู่บนเรือ

・ระหว่างการยกตู้สินค้าออกจากเรือโดยเครน

เช่นเดียวกับการโหลดตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นเรือ ตู้จะถูกยกออกจากเรือโดยเครนที่ถูกจัดการโดยพนักงานที่ท่าเรือ ซึ่งความไม่ชำนาญอาจทำให้ตู้สินค้าเกิดการสั่นสะเทือนและส่งผลให้สินค้าภายในตู้เกิดความเสียหายได้

・ระหว่างการนำสินค้าออกจากตู้ที่ CFS (Container Freight Station)


เช่นเดียวกันกับการโหลดสินค้าที่ CFS ขั้นตอนการนำสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ ก็สามารถเกิดความเสียหายต่อสินค้า เนื่องจากการประสานงานที่ผิดพลาดระหว่างผู้ปฏิบัติงานและรถโฟล์คลิฟท์ได้เช่นเดียวกัน

・ระหว่างทางในการขนส่งสินค้าจาก CFS /ท่าเรือ ไปยังโรงงาน

สภาพถนนที่แย่หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง ก็เป็นเหตุให้สินค้าที่อยู่ในตู้ได้รับความเสียได้

・ระหว่างการขนสินค้าออกจากตู้ที่โรงงาน

เช่นเดียวกันกับการโหลดสินค้าที่ต้นทาง ความผิดพลาดและการเข้าใจผิดจากการประสานงานของเครนและรถโฟร์คลิฟ ก็สามารถเป็นเหตุสินค้าเกิดความเสียหายได้

เมื่อสินค้าเกิดความเสียหาย ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ?

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ในกระบวนการส่งออกสินค้าทางทะเล มีความเสี่ยงที่สินค้าจะได้รับความเสียหายในทุกกระบวนการและเมื่อสินค้าเกิดความเสียหาย สิ่งแรกที่ควรทำคือตรวจสอบว่าสินค้าเกิดความเสียหายที่ไหน

ก่อนอื่นเราต้องระบุให้ได้ก่อนว่าสินค้าที่เสียหายนั้นได้รับความเสียหายในขณะที่อยู่ในกระบวนการใด เช่น ในระหว่างการโหลดสินค้าที่โรงงาน, ในระหว่างการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือ, ในระหว่างการโหลดสินค้าที่ CFS และโหลดตู้สินค้าลงเรือ หรือในระหว่างที่ตู้สินค้าอยู่บนเรือ ซึ่งหลังจากที่เราระบุได้แล้วว่าสินค้าได้รับความเสียหายที่ไหน เราก็จะสามารถพิจารณาได้ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นๆ

ถึงแม้ว่าในกรณีของ LCL (Less than Container Load) สินค้าจะมีความเสี่ยงที่ได้รับความเสียหายมากกว่า FCL (Full Container Load) แต่จะมีเอกสาร Tally Sheet ที่สามารถนำมาชี้แจงความเสียหายได้

ในกรณีการส่งสินค้าแบบ LCL สินค้าจะถูกโหลดร่วมกับสินค้าจากหลายๆโรงงาน จึงทำให้มีความเสี่ยงที่จะทำให้สินค้าได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ดี ในการส่งสินค้าแบบนี้จะมีเอกสาร ที่เรียกว่า Tally Sheet ซึ่งจะบันทึกภาพของของสินค้าในขณะที่โหลดสินค้าและขนสินค้าออกจากตู้ ที่ CFS โดยที่เราสามารถใช้เอกสารดังกล่าว เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุการเสียหายได้

แต่นี่เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่จะตรวจสอบว่าสินค้าเกิดความเสียหายที่ไหนและใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น

ประกันภัยของรถบรรทุก

มีกรณีที่รถบรรทุกเกิดอุบัติเหตุทำให้สินค้าเสียหายแต่บริษัทรถมีประกัน ดังนั้นสินค้าที่เกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่ง จะถูกรับผิดชอบโดยบริษัทรถบรรทุก ซึ่งจำนวนเงินประกันก็จะขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละบริษัท

ทำไมถึงต้องแนะนำให้ทำประกันสำหรับการขนส่งสินค้าทางทะเล?


ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะระบุว่าสินค้านั้นเกิดความเสียหายที่ไหน อาจจะเกิดความเสียหายในระหว่างการยกโหลดสินค้า,จากการสั่นสะเทือนจากคลื่นในทะเล หรือ การสั่นสะเทือนในระหว่างการขนส่งโดยรถบรรทุก

ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มีหลายครั้งที่เรา ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าได้รับความเสียหายที่ไหน ซึ่งถ้าเราไม่สามารถตรวจสอบได้ แล้ว ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ? อาจจะไม่มีใครรับผิดชอบหรืออาจจะรับผิดชอบโดยไม่เต็มใจ นอกจากนั้นโดยทั่วไปสายเรือก็มักจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายอีกด้วย

แม้ว่าจะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่าง ลูกค้า และ forwarders หากความเสียหายเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย forwarders อาจจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพื่อการแก้ปัญหาที่รวดเร็ว และเพื่อไม่ให้ภาระค่าใช้จ่ายเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เราอยากจะแนะนำให้ลูกค้าทำประกัน สำหรับทุกๆ Shipment.

ข้อเสนอแนะ สำหรับการบรรจุ(packing/lashing) สินค้าเพื่อป้องกันการเสียหาย


ไม่มีประโยชน์ที่จะมาถกเถียงว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับความเสียหายต่อสินค้าที่เกิดขึ้น หากปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ในฐานะ freight forwarder เรามีหน้าที่ที่จะป้องกัน ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อไป

วิธีการบรรจุที่ดีที่สุด

ไม่ว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดจากผู้ปฏิบัติงานหรือไม่ การบรรจุสินค้าอย่างถูกต้องก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะป้องกันสินค้าจากความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด สำหรับการบรรจุสินค้านั้นมีอยู่หลายวิธี ไม่ว่าจะใช้กระดาษแข็งแบบทั่วไป, กระดาษลูกฟูกแบบแข็ง, กล่องไม้, ไม้ตีลัง หรือบรรจุโดยใช้เหล็กเข้ามาช่วย เป็นต้น

ยิ่งต้องการให้บรรจุสินค้าที่แข็งแรงมากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งมากขึ้น ดังนั้นเราควรเลือกวิธีการบรรจุที่เหมาะสมกับสินค้าที่สุด ซึ่งเราควรคำนึงถึงค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในการบรรจุอีกด้วย

บทสรุป

การบรรจุสินค้าเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้สินค้าของเราไม่เกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่ง อย่างไรก็ตาม ในทุกกระบวนการย่อมมีค่าใช้จ่าย เราในฐานะ Freight forwarder อยากจะให้ทางลูกค้าเข้าใจว่าความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และยากที่จะควบคุม เราจึงจำเป็นที่จะต้องแนะนำวิธีที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าเพื่อให้สินค้าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง

นอกจากนี้เรามีความยินดีเป็นอย่างมากที่จะแนะนำ แนวทาง และ ประเภทของการบรรจุสินค้า เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าเกิดความเสียหาย และก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายตามภายหลัง ดังนั้น หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบรรจุสินค้า หรือ อยากให้เราดูแลเรื่องนี้ให้ สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางต่างๆที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ และเราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่คุณไม่มากก็น้อย

RELATED POSTS

บทความเกี่ยวกับการประกันภัยทางทะเล และ เงื่อนไขการประกัน! เพื่อป้องกันความเสี่ยง ต่อความเสียหายของสินค้า ในระหว่างการขนส่ง เราจำเป็นต้องทราบประเภทของการประกันภัยทางทะเล | การขนส่งทางทะเล

บทความเกี่ยวกับการประกันภัยทางทะเล และ เงื่อนไขการประกัน! เพื่อป้องกันความเสี่ยง ต่อความเสียหายของสินค้า ในระหว่างการขนส่ง เราจำเป็นต้องทราบประเภทของการประกันภัยทางทะเล