Posted on: November 9, 2018 / Last updated: June 12, 2024
【คู่มือสำหรับตู้คอนเทนเนอร์】บทความนี้เราจะอธิบายเกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศ เช่น ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์, ขนาด, น้ำหนักที่ตู้แต่ละชนิดรับได้, การใช้งาน, การซ่อมแซมตู้, ปัญหาที่พบ และ เนื้อหาอื่นๆที่เป็นประโยชน์
ตู้คอนเทนเนอร์เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศนอกจากตู้ขนาดมาตรฐานแล้วยังมีการแยกย่อยไปอีกหลากหลายประเภท โดยตู้สินค้าแต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมกันสินค้าที่แตกต่างกันไป โดยที่ผ่านมา HPS Trade และ บริษัทในเครือ มีการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อการส่งออกมากถึง 2,000 ตู้ต่อเดือน ซึ่งบทความนี้เราจะมาแนะนำตู้คอนเทนเนอร์ประเภทต่างๆว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรและเหมาะสมกับสินค้าประเภทไหนบ้าง
CONTENTS
วิดีโอเกี่ยวกับประเภทและขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ Dry/Reefer/Open Top/Flat Rack/ISO Tank
ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์
ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มีอยู่หลากหลายประเภทโดยแต่ละประเภทก็จะเหมาะสมกับสินค้าที่แตกต่างกันไป
Dry container (ตู้คอนเทนเนอร์แห้ง,ตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐาน)
ตู้คอนเทนเนอร์ชนิดนี้คือตู้แบบมารตรฐานหลักๆในประเทศไทย จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 20’ฟุต, 40’ฟุต และ 40’ฟุต high cube โดยตู้เหล่านี้จะใช้จัดส่งสินค้าทั่วไปที่ไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิ เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์, เครื่องสำอาง, วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า, อาหารแห้ง, ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้หรือเหล็ก รวมไปถึง สินค้าอันตรายต่างๆเป็นต้น
Reefer container(ตู้ควบคุมอุณหภูมิ)
ตู้คอนเทนเนอร์ชนิดนี้ เป็นตู้ที่มีฉนวนกันความร้อน โดยตู้ชนิดนี้จะสามารถตั้งค่าความชื้น และ ควบคุมอุณหภูมิได้ โดย ช่วงอุณหภูมิจะอยู่ที่ -25 ถึง + 25 องศาเซลเซียส ซึ่งค่าการจัดส่ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็จะสูงกว่าตู้แห้ง โดยส่วนใหญ่ตู้ชนิดนี้จะถูกใช้สำหรับการขนส่งของสด เช่น ผลไม้, อาหารแช่แข็ง , ดอกไม้สด, สารเคมีที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ และ สินค้าควบคุมอุณหภูมิอื่นๆ
ค่าบริการไฟฟ้าที่ท่าเรือ และ ในระหว่างการขนส่ง
ตู้ควบคุมอุณหภูมิ(Reefer container) ต้องคงอุณหภูมิภายในตู้ในอยู่ในระดับคงที่อยู่เสมอ ทั้งในขณะขนส่ง และ ในขณะที่อยู่ที่ท่าเรือเพื่อรอการขนขึ่นเรือ
ด้วยเหตุนี้เองรถเทรลเลอร์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องปั่นไฟ(Generator setting, Gen set) และท่าเรือเองก็ต้องมีไฟฟ้าเพื่อจ่ายไฟให้แก่ตู้สินค้านั้นๆ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำตู้สินค้าประเภทนี้มีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าตู้สินค้าปกติ ซึ่งค่าใช่จ่ายที่เพิ่มขึ้น คือ ค่าไฟ (Electric charge) และ ค่าทำอุณหภูมิก่อนรับตู้ (Pre-cool)
Open top container
ตู้คอนเทนเนอร์ชนิดนี้จะไม่มีเพดานตู้ ซึ่งจะเหมาะสำหรับ สินค้าที่มีความสูงกว่าตู้สินค้าปกติ (ประมาณ 2.7 เมตร) โดยตู้ชนิดนี้ เรือจะไม่สามารถวางตู้สินค้าอื่นไว้ด้านบนได้ทำให้พื้นที่สำหรับวางตู้ชนิดนี้มีอยู่อย่างจำกัด เหตุนี้เอง ทำให้ราคาของตู้สินค้าชนิดนี้สูงกว่าตู้ปกติ โดยในระหว่างการขนส่งจะมีการคลุมผ้าใบไว้เพื่อไม่ให้สินค้าได้รับได้รับความเสียหายจากฝน
Flat rack container
ตู้สินค้าชนิดนี้จะไม่มีผนัง และ เพดาน เหมาะกับสินค้าที่มีขนาดไม่พอดีกับตู้สินค้า และไม่สามารถโหลดใส่ตู้แห้งแบบปกติได้ โดยตู้ชนิดนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากบนเรือมีพื้นจำกัดสำหรับวางตู้สินค้าชนิดนี้
ISO Tank Container
ตู้คอนเทนเนอร์ชนิดนี้จะใช้กับสินค้าที่เป็นของเหลว โดยความจุของถังจะอยู่ที่ 11,000 ลิตรถึง 26,000 ลิตร ขึ้นอยู่กับประเภทของถัง โดยคอนเทนเนอร์ชนิดนี้เรายังใช้เพื่อขนส่งของเหลวที่เป็นอันตรายด้วย
โดยทั่วไป การโหลดของเหลวโดยใช้ ISO Tank จะโหลดได้ในปริมาณที่มากกว่าการโหลดถังบรรจุใส่ตู้คอนเทนเนอร์ นอกจากนี้ การใช้ ISO TANK ยังง่ายต่อการขนย้ายและบรรจุสินค้าอีกด้วย
ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์
ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ มีความสำคัญอย่างมากหากต้องการโหลดสินค้าให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยตู้ของแต่ละสายเรือจะมีขนาดที่แตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งเราสามารถตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของตู้สินค้าได้ทางเวปไซต์ของสายเรือ
ขนาดของ Dry container
20ฟุต container
[ขนาดภายนอก] ความยาว: 6.05 เมตร / กว้าง: 2.43 เมตร / สูง: 2.59 เมตร
[ขนาดภายใน] ความยาว: 5.86 เมตร / กว้าง: 2.35 เมตร / สูง: 2.38 เมตร
40feet container
[ขนาดภายนอก] ความยาว: 12.19 เมตร / กว้าง: 2.43 เมตร / สูง: 2.89 เมตร
[ขนาดภายใน] ความยาว: 12.03 เมตร / กว้าง: 2.35 เมตร / สูง: 2.38 เมตร
ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆคือ ตู้ 40ฟุต จะยาวเท่ากับ ตู้ 20ฟุต 2 ตู้
40ฟุต high cube container
[ขนาดภายนอก] ความยาว: 12.19 เมตร / กว้าง: 2.43 เมตร / สูง: 2.89 เมตร
[ขนาดภายใน】ความยาว: 12.03 m / กว้าง: 2.35 เมตร / สูง: 2.70 เมตร
ตู้คอนเทนเนอร์ 40ฟุต High cube จะแตกต่างกับตู้ 40ฟุต Dry container ที่ความสูงเท่านั้น
น้ำหนักที่มากที่สุดที่ตู้คอนเทนเนอร์สามารถรับได้
ถนนในประเทศไทย มีข้อจำกัดสำหรับน้ำหนักของรถบรรทุกสินค้า โดยคุณสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบริษัทขนส่ง
สำหรับตู้ 20ฟุต และ 40ฟุต น้ำหนักสูงสุดที่บรรทุกได้จะอยู่ที่ประมาณ 28 ตัน
* เมื่อใช้หางแบบ 3 เพลา
โดยไม่ว่าจะเป็นตู้ขนาด 20ฟุต หรือ 40ฟุต นำหนักของสินค้าที่รับได้จะเท่ากันทั้งสองขนาด หลายครั้งมักเกิดการเข้าใจผิดว่า ตู้ 40ฟุต จะสามารถรับน้ำหนักได้เป็น 2 เท่าของตู้ 20ฟุต ซึ่งนั่นเป็นการเข้าใจผิด
นอกจากนี้การบรรทุกสินค้าที่หนักเกินที่ตู้สินค้าจะรับได้ อาจจะเกิดอันตรายได้ ไม่เพียงในระหว่างการขนส่งเท่านั้น ยังรวมไปถึงการโหลดตู้สินค้าที่ท่าเรืออีกด้วย
ลานตู้คอนเทนเนอร์,ลานตู้สินค้าเปล่า
ในประเทศไทย ตู้คอนเทนเนอร์จะถูกเก็บรวมกันไว้ที่ลานตู้สินค้า (Depot)ที่ แต่ละสายเรือได้ทำสัญญาไว้ เราจะรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่าที่ Depot สำหรับงานขาออก และรวมไปถึงส่งคืนตู้คอนเทนเนอร์เปล่าสำหรับงานขาเข้า ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นเรียกว่าคอนเทนเนอร์ bumpur
การตรวจสอบสภาพตู้คอนเทนเนอร์,การทำความสะอาด และ การซ่อมแซม
หลังจากที่ตู้คอนเทนเนอร์ถูกส่งกลับไปยัง Depot ตู้จะถูกทำความสะอาด และ ซ่อมแซม หากตู้มีร่องรอยความเสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์ ที่เกิดขึ้นบ่อยในประเทศไทย
ตู้คอนเทนเนอร์ไม่สะอาด
นี่เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในการขนส่งสินค้าของประเทศไทย เมื่อมีการจองตู้กับบริษัทขนส่งเราได้ขอตู้คอนเทนเนอร์เกรด A ที่มีสภาพดี แต่สภาพที่ได้รับจริงในวันรับตู้ที่ Depot อาจสกปรกมีกลิ่นเหม็นพื้นมีรอยขีดข่วนหรือมีรอยรั่ว
ถ้าหากสภาพตู้คอนเทนเนอร์ไม่ได้เป็นไปตามที่ร้องขอ ลูกค้าอาจจะไม่สามารถโหลดสินค้าได้ ซึ่งหากเกิดปัญหาแบบนี้ขึ้น เราต้องนำตู้สินค้าไปเปลี่ยนคืนที่ Depot เพื่อให้ได้ตู้ในสภาพที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งอาจจะเกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามมาได้
ความล่าช่าในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์
HPS Trade มีนโยบาย ที่ให้ผู้ที่ขับรถรับตู้คอนเทนเนอร์ ทำการตรวจสอบตู้ก่อนทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว
ในกรณีที่ได้รับตู้ที่มีสภาพตามที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ เราสามารถแจ้งขอไม่รับ และเปลี่ยนตู้ใหม่ได้ แต่เนื่อง Depot จะสามารถเลือกตู้ให้ได้เพียงรอบละหนึ่งครั้ง นั่นหมายถึงเทรลเลอร์ต้องกลับไปเริ่มต้นในการขอรับตู้ใหม่ซึ่งหากมีการร้องขอเปลี่ยนตู้สองถึงสามครั้งอาจส่งผลให้เสียเวลา และทำให้ตู้ถึงโรงงานไม่ทันตามเวลาที่กำหนด
ค่าธรรมเนียมการทำความสะอาดตู้คอนเทนเนอร์
หลายครั้งที่มีข้อสงสัยสำหรับสำหรับงานขาเข้า เกี่ยวค่าธรรมเนียมในการทำความสะอาดตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งๆที่ตู้ยังอยู่ในสภาพที่สะอาด โดยทั่วไปแล้วหลังจากที่ตู้ได้รับการใช้งาน ตู้จะถูกทำความสะอาด โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวแตกต่างกันไปซึ่งจะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสายเรือ
บทสรุป
จากบทความข้างต้น ในฐานะที่เราเป็น forwarder เราได้อธิบายข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์แต่ละชนิด และที่ HPS Trade เรามีนโยบายที่จะเลือกตู้สินค้าที่ดี และ เหมาะสมกับสินค้าที่สุด เพื่อการขนส่งสินค้าที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยเราจะใส่ใจและให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ในทุกๆงาน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด