Posted on: July 24, 2019 / Last updated: June 12, 2024
คำอธิบายอย่างง่าย สำหรับเงื่อนไขและการรับผิดชอบในการขนส่งสินค้าแบบ EXW
CONTENTS
วิดีโอแอนนิเมชั่น เกี่ยวกับ EXW
เงื่อนไข EXW
EXW (EX Works) เป็นหนึ่งในเงื่อนไขและข้อตกลงในการขายสินค้าที่เรียกว่า INCOTERMS
EXW คืออะไร?
・EXW เป็นเงื่อนไขการค้าที่เป็นภาระน้อยที่สุดสำหรับผู้ขายสินค้า!
Incoterms (International Commercial Terms) คือ เป็นข้อกําหนดในการส่งมอบสินค้า หรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า โดยกำหนดเป็นมาตรฐานความหมายการค้าที่ใช้ตกลงในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่เป็นสากล มีทั้งหมด 11 รูปแบบ
ผู้ขายส่งมอบของให้แก่ผู้ซื้อ ณ ที่ทำการของผู้ขาย
・ผู้ขายส่งมอบของให้แก่ผู้ซื้อ ณ ที่ทำการของผู้ขาย เช่น โรงงาน หรือโรงพักสินค้า ฯลฯ
โดย ผู้ซื้อรับภาระในการดำเนินการและค่าใช้จ่ายรวมทั้งความเสี่ยงหลังจากการส่งมอบของแล้ว เช่น การขนของขึ้นยานพาหนะ การปฏิบัติพิธีการขาออก เป็นต้น [br num=”2″]
ผู้ขายจะมีหน้าที่เตรียมสินค้าไว้ และเตรียมส่งมอง ณ สถานที่ของผู้ส่งออก หลายคนเรียกเทอมแบบนี้ว่า “ราคาหน้าโรงงาน” [br num=”2″]
ผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบตั้งแต่ขนสินค้าขึ้นรถ ทำศุลกากรทั้งขาเข้าและขาออก แต่สามารถขอความช่วยเหลือจากผู้ขายได้
ภาระค่าใช้จ่ายและภาระความเสี่ยงใน EXW
・ต้นทุนและความเสี่ยงของผู้ซื้อ ณ สถานที่ตั้งของผู้ขาย
เงื่อนไข EXW คือ เมื่อผู้ซื้อได้ทำการส่งสินค้าไปยังผู้ขาย ณ โรงงานหรือโกดังเก็บสินค้าแล้ว ความรับผิดชอบเรื่องต้นทุนต่างๆ และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้น จะถือว่าเป็นของผู้ซื้อ [br num=”2″]
ซึ่งหมายความว่า ผู้ซื้อจะต้องดูแลค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่างๆ เริ่มจากค่าขนส่งสินค้าที่จะส่งออก เช่น ค่ารถบรรทุกที่ใช้ในการรับสินค้า, ค่าทางพิธีการศุลกากร, ค่าขนส่งสินค้าสำหรับทางเรือและทางอากาศ และ ค่านำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศ
เงื่อนไขและข้อตกลงทั้งหมด 11 ข้อ ถูกจัดตั้งขึ้นมาเป็น Incoterm สำหรับเงื่อนไข EXW เป็นเงื่อนไขเดียวที่ผู้ซื้อจะต้องจ่ายค่าขนส่งสินค้าส่งออก และค่าศุลกากร [br num=”2″]
อย่างไรก็ตามผู้ขายจะต้องให้ความช่วยเหลือในเรื่องการได้รับการอนุมัติการส่งออกจากกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งให้ข้อมูลที่ผู้นำเข้าต้องการสำหรับพิธีการศุลกากรส่งออก
เงื่อนไข EXW คืออะไร ในมุมมองของผู้ส่งออก
・คือเงื่อนไขการค้าที่เป็นภาระน้อยที่สุดสำหรับผู้ส่งออก! แนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นซื้อขายสินค้า
EXW เป็นเงื่อนไขการค้าที่มีภาระผูกพันและความเสี่ยงน้อยที่สุดสำหรับผู้ขาย
สำหรับมุมมองของผู้ส่งออก ถ้าสินค้าถูกผลิตตรงเวลา และสินค้าถูกส่งออกไปยังผู้ซื้อแล้ว หลังจากนั้น ผู้นำเข้าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบงานเกือบทั้งหมด [br num=”2″]
ในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นเงื่อนไขทางการค้าที่เหมาะสม เมื่อคุณเพิ่งเริ่มส่งออกไปยังต่างประเทศหรือคุณไม่เคยมีสินค้าส่งออกมาก่อนเลย
หากคุณมีประสบการณ์ในการส่งออกสินค้าน้อย เราขอแนะนำให้คุณเริ่มจากการใช้เงื่อนไข EXW
ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบสำหรับผู้ส่งออกในเงื่อนไข EXW
เราจะมาพิจารณาในข้อดีและข้อเสียสำหรับเงื่อนไข EXW จากมุมมองของผู้ส่งออก
ข้อได้เปรียบสำหรับผู้ส่งออก
・ผู้ส่งออกจะใช้ต้นทุนน้อย มีความเสี่ยงต่ำ และมีขั้นตอนน้อย
อย่างแรก เพียงแค่คุณเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งสินค้าต้นทาง ซึ่งค่าใช้จ่าย Shipping จะมีราคาที่ไม่สูง
นอกจากนี้ ผู้นำเข้าจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง เช่น อุบัติเหตุหรือการจัดส่งผิดพลาด แต่เราสามารถลดภาระความเสี่ยงนี้ได้ [br num=”2″]
นอกจากนี้ สัญญาระหว่างตัวแทนผู้ขนส่งสินค้ากับหน่วยงานต่างๆ เช่น พิธีการศุลกากรจะมีความสำคัญกับผู้นำเข้า เพราะสามารถช่วยลดภาระในการส่งออกสินค้าได้
ข้อได้เปรียบที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ดังนี้ :[br num=”2″]
ข้อได้เปรียบสำหรับผู้ส่งออกเมื่อใช้เงื่อนไข EXW
・สามารถลดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าขนส่งสินค้าได้
・ภาระความเสี่ยงน้อย เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
・ไม่จำเป็นต้องดำเนินการทางการค้า เช่น พิธีการศุลกากร
ข้อเสียเปรียบสำหรับผู้ส่ง
แน่นอนว่า EXW นั้นมีภาระน้อยที่สุดสำหรับผู้ส่งออก แต่มีข้อเสียเปรียบอยู่
พิจารณาได้ดังต่อไปนี้ [br num=”2″]
ในการนำเข้าสินค้าภายใต้เงื่อนไข EXW ผู้นำเข้าจะต้องจัดการการขนส่งสินค้าทั้งหมดด้วยตนเอง หลังจากส่งมอบสินค้าจากผู้ส่งออก
ผู้นำเข้าจึงจำเป็นต้องมีประสบการณ์เกี่ยวกับซื้อขายสินค้า หรือ ผู้นำเข้าจะต้องมีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าภายใต้เงื่อนไข EXW [br num=”2″]
ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ส่งออกในการทำสัญญากับคู่ค้าในราคาที่เหมาะสม เพราะผู้ประกอบการเหล่านี้เป็นผู้เชี่ยวชาญและสามารถเพิ่มราคา Shipping กับเราได้
ด้วยเหตุนี้ ผู้ส่งออกที่ไม่มีประสบการณ์ จะทำกำไรได้ไม่สูงมากนักในการใช้ราคาขนส่งสินค้าทั้งในและนอกประเทศภายใต้เงื่อนไข EXW [br num=”2″]
ข้อเสียเปรียบที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ดังนี้
ข้อได้เปรียบสำหรับผู้ส่งออกเมื่อใช้เงื่อนไข EXW
・ ผู้ส่งออกมีทางเลือกในการขนส่งสินค้าไม่มากนัก หลังจากส่งมอบสินค้า
・ ผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบหลายอย่าง ซึ่งอาจเสียเปรียบในการต่อรองราคา
เงื่อนไข EXW คืออะไร? ในมุมมองของผู้นำเข้า
ในมุมมองของผู้นำเข้า เงื่อนไข EXW จำเป็นต้องจัดการการส่งสินค้าทั้งหมดในประเทศของผู้ส่งออก ซึ่งจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์และความรู้เป็นอย่างมาก
ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบสำหรับผู้นำเข้าในเงื่อนไข EXW
เราจะมาพิจารณาในข้อดีและข้อเสียสำหรับเงื่อนไข EXW จากมุมมองของผู้นำเข้า
สิทธิประโยชน์ของผู้นำเข้า
เงื่อนไข EXW มีทั้งข้อได้เปรียบดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ EXW เป็นเงื่อนไขที่ผู้ซื้อสามารถนำเข้าสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำ เพราะผู้นำเข้าได้รับอนุญาติในการเลือกบริษัท Shipping หรือบริษัทประกันภัยได้ [br num=”2″]
นอกจากนี้ ผู้นำเข้าจ่ายจะต้องรับผิดชอบค่าแรงงานทั้งหมด เช่น การขนส่ง เราสามารถเจรจาและต่อรองราคากับคู่ค้าได้
ข้อได้เปรียบของผู้นำเข้าในการใช้เงื่อนไข EXW
・ เงื่อนไข EWX ถือว่าเป็นการนำเข้าสินค้าที่ถูกที่สุด
・ มีประโยชน์ในการต่อรองกับผู้ประกอบการค้าต่างๆ เพราะ ผู้นำเข้ารับผิดชอบเกี่ยวกัลค่าขนส่งและอันตรายต่างๆ ที่อาจะเกิดขึ้นได้
ข้อเสียเปรียบสำหรับผู้นำเข้า
ข้อเสียของผู้นำเข้าคืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้า คุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมด จากที่ตั้งของผู้ส่งออกไปยังจุดภายในประเทศที่กำหนดไว้
ผู้นำเข้าต้องดำเนินเรื่อง shipping และพิธีการศุลกากรขาออกในประเทศส่งออก ดังนั้นผู้ส่งออกจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวแทนผู้ขนส่งสินค้าสามารถจัดส่งให้ได้ [br num=”2″]
หากตัวแทนผู้จัดส่งสินค้าไม่สามารถจัดการได้ ทางผู้ส่งออกจะต้องหาตัวแทนรายใหม่หรือใช้เงื่อนไขส่งสินค้าอื่นแทน
ข้อเสียเปรียบของผู้นำเข้าในการใช้เงื่อนไข EXW
・ จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้น
สรุป
สำหรับบทความนี้ เราอธิบายเกี่ยวกับเงื่อนไขของ EXW ซึ่งเราพิจารณาทั้งผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจและมองภาพได้ง่ายขึ้น
เนื่องจาก EXW เป็นเงื่อนไขที่มีภาระน้อยที่สุดในด้านผู้ส่งออก เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับบริษัทที่กำลังโน้มน้าวลูกค้าให้มาใช้เงื่อนไขนี้ [br num=”2″]
นอกจากนี้ หากคุณคือผู้นำเข้าที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ คุณควรที่จะปรึกษาตัวแทนขนส่งสินค้าเพื่อพิจารณาโอกาสที่สามารถนำเข้าโดยใช้เงื่อนไข EXW