HPS Trade, a distribution agent
that accelerates business locally in Asia

MENUCLOSE

column

วิธีคำนวณค่าขนส่งทางอากาศ และวิธีเปรียบเทียบขนาดและน้ำหนักของสินค้า

วิธีคำนวณค่าขนส่งทางอากาศ และวิธีเปรียบเทียบขนาดและน้ำหนักของสินค้า | การขนส่งทางอากาศ


การขนส่งทางอากาศนั้นจะมีข้อได้เปรียบตรงที่ใช้ระยะเวลาการขนส่งเร็วกว่าการขนส่งทางทะเล ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะใช้บริการขนส่งทางอากาศสำหรับการขนส่งสินค้าขนาดเล็กและเบาหรือใช้สำหรับกรณีการจัดส่งด่วน

โดยเมื่อเทียบกันแล้ว การขนส่งทางอากาศมีราคาแพงกว่าอัตราการขนส่งทางทะเล [br num=”2″]

เมื่อคุณเลือกที่จะจัดส่งสินค้าทางอากาศ คุณต้องเข้าใจก่อนว่าลักษณะสินค้าของคุณเป็นอย่างไร และ ต้องเข้าใจวิธีการคำนวณขนาดของสินค้าที่จัดส่งด้วย

ซึ่งคุณอาจคิดว่าเป็นการยากสำหรับการคำนวณขนาดของสินค้า[br num=”2″]

แต่ถ้าหากคุณเข้าใจวิธีคำนวณค่าขนส่งทางอากาศ คุณจะสามารถเปรียบเทียบข้อดีของบริการแต่ละสายการบินได้ยิ่งไปกว่านั้นจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการ เลือกลักษณะการบริการในการจัดส่ง เช่น DHL และ Fedex สำหรับสินค้าเบา

ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายถึงวิธีคำนวณ ค่าบริการในการส่งสินค้าทางอากาศ และ ตัวอย่าง

วิธีคำนวณค่าขนส่งสินค้าทางอากาศ


จริงๆแล้ว วิธีการคำนวณค่าขนส่งสินค้าทางอากาศนั้น เป็นเรื่องที่ง่าย โดยเราจะสรุปข้อมูลและองค์ประกอบที่จำเป็นดังนี้

สูตรการคำนวณการขนส่งทางอากาศ

หากคุณจะต้องคำนวณค่าขนส่งทางอากาศ องค์ประกอบหลักที่คุณจำเป็นต้องมี คือ น้ำหนักบรรทุกสินค้า,จำนวนสินค้า และ อัตราค่าขนส่งทางอากาศ

ค่าขนส่งทางอากาศ = น้ำหนักของสินค้าหรือปริมาณสินค้า (ใช้จำนวนที่ใหญ่กว่า) × อัตราค่าขนส่งทางอากาศ

ทำไมต้องใช้น้ำหนักของสินค้าหรือจำนวนสินค้า

สินค้าที่มีขนาดใหญ่ก็จะต้องใช้พื้นที่ของเครื่องบินมากตามไปด้วย ในกรณีนี้แม้ว่าสินค้าจะมีน้ำหนักเบาแต่ก็จำเป็นที่จะต้องยึดขนาดของสินค้า เนื่องจากพื้นที่ที่มีจำกัดบนเครื่องบิน

ดังนั้นผู้ขนส่งทางอากาศจึงเลือกน้ำหนักบรรทุกหรือปริมาณสินค้าสำหรับการคำนวณค่าขนส่ง [br num=”2″]

โดยเราเรียกค่านี้ว่า “Chargeable Weight“

วิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง น้ำหนัก และ ปริมาณ?

เมื่อจะต้องเปรียบเทียบ น้ำหนัก และ จำนวนสินค้า เราจะต้องเปรียบเทียบโดยใช้หน่วยเดียวกัน ในกรณีนี้เราจะใช้ น้ำหนัก เป็นหน่วยสำหรับการคำนวณ ดังนั้นจะต้องแปลงจำนวนเป็นน้ำหนักก่อน

สูตรในการแปลง น้ำหนัก เป็น จำนวน ตามหัวข้อต่อไปนี้

1. คำนวณน้ำหนักสินค้า

หาน้ำหนักที่แท้จริงของสินค้า โดยรวม Pallet สินค้าด้วย

2. แปลงจำนวนสินค้า,ปริมาตร (cm3) เป็นน้ำหนักน้ำหนักสินค้า (KG)

สูตรสำหรับแปลง จำนวน,ปริมาตร (cm3) ให้เป็นน้ำหนัก (KG)

น้ำหนักบรรทุก (กก.) = ปริมาตรสินค้า (ความยาว (ซม.)×กว้าง(ซม.) ×สูง (ซม.)) ÷ 6,000

* ซึ่งหลังจากคำนวณแล้ว เราจะสามารถเปรียบเทียบน้ำหนักและปริมาณ ว่าด้านไหนมีมากกว่า ด้วยหน่วย KG [br num=”2″]

ในหัวข้อต่อไปเราจะยกตัวอย่างการขนส่งทางอากาศจากประเทศไทยไปญี่ปุ่น ซึ่งสามารถใช้ตัวอย่างเพื่อคำนวณค่าขนส่งทางอากาศของคุณได้

ตัวอย่างการคำนวณค่าขนส่งสินค้าทางอากาศจากประเทศไทยไปญี่ปุ่น


หัวข้อนี้เราจะคำนวณค่าขนส่งทางอากาศจากประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นตามตัวอย่างดังนี้

・น้ำหนักสินค้า: 500 กก
・ขนาดสินค้า: 115 ซม. (กว้าง) x 115 ซม. (ยาว) x 165 ซม. (สูง)
・การขนส่งทางอากาศ: THB 54 /กก
[br num=”2″]

ตัวอย่าง…

・ น้ำหนักบรรทุก
ยกตัวอย่าง น้ำหนักของ 1 พาเลทและสินค้าคือ 500 กิโลกรัม [br num=”2″]

・ปริมาณสินค้า
สมมติว่า 1 พาเลทคือ 115 ซม. (W) x 115 ซม. (H) x 165 ซม. (H)
หากเราหารปริมาตรลูกบาศก์ที่คำนวณได้ (cm3) เท่ากับ 6,000 ปริมาตรสินค้าจะเป็นดังนี้ [br num=”2″]

ปริมาตรลูกบาศก์ = 115 ซม. × 115 ซม. × 165 ซม. = 2,182,125 ซม. 3
ปริมาณสินค้า = 2,182,115 ÷ 6,000 = น้ำหนักประมาณ 363 กิโลกรัม [br num=”2″]

・Chargeable Weight: จะเลือกจ่าค่าที่มากที่สุด ระหว่าง น้ำหนัก และ ปริมาณ

น้ำหนักบรรทุกสินค้าจริง : 500 กิโลกรัม
ปริมาณสินค้า : 363 กิโลกรัม [br num=”2″]

500 กิโลกรัมจะเป็นน้ำหนักที่ใช้ในการคิดค่าบริการ [br num=”2″]

・การใช้ Chargeable weight ในการคำนวณค่าบริการขนส่งทางอากาศ

ค่าบริการขนส่งทางอากาศ(Air Freight) = 500 กก. × 54 บาท / กก. 27,000 บาท

น้ำหนักสินค้ามากกว่า 45 Kg ควรใช้บริการ Forwarder


ในฐานะที่เราเป็น Freight Forwarder เราเราจะได้รับค่าบริการขนส่งทางอากาศ Air Freight จากหลายๆสายการบิน อย่างไรก็ตาม ราคาถูกนำมาใช้เมื่อ Chargeable weight มากกว่า 45kg.

หากสินค้า มี Chargeable weight น้อยกว่า 45kg ในกรณีนี้เราจะเสนอให้คุณใช้บริการจัดส่งเช่น DHL และ Fedex. [br num=”2″]

Courier (DHL,Fedex) จะให้บริการจัดส่งแบบ door to door ซึ่งจะเหมาะกับสินค้าที่มีขนาดเล็ก

45kg เป็น Chargeable weight ที่จะนำมาใช้พิจารณาว่าจะใช้บริการ Forwarder หรือ Courier [br num=”2″]

เนื่องจากการค่าบริการขนส่งสินค้าทางอากาศนั้นไม่ได้เหมือนกันทุก Forwarder (ซึ่งขึ้นอยู่กับ sale ของ forwarder ที่รับผิดชอบ) เราจึงขอแนะนำให้คุณติดต่อผู้ forwarder ของคุณเพื่อคำนวณค่าบริการขนส่งทางอากาศให้คุณ

บทสรุป

หากคุณเข้าใจวิธีการคำนวณค่าขนส่งสินค้าทางอากาศ จะทำให้คุณสามารถเลือกบริการจัดส่งสินค้าที่เหมาะสมกับ สินค้าของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าที่มีขนาดเล็กและเบา เราหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้บริการจัดส่งสินค้าของคุณไม่มากก็น้อย

RELATED POSTS

เมื่อสินค้าเสียหายในระหว่างการขนส่งระหว่างประเทศ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ? และ ความสำคัญของการบรรจุสินค้า (Packing/Lashing) | การขนส่งทางทะเล

เมื่อสินค้าเสียหายในระหว่างการขนส่งระหว่างประเทศ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ? และ ความสำคัญของการบรรจุสินค้า (Packing/Lashing)